ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับ การจ่ายเงินปันผล ก่อนเลิกกิจการ

ตามหลักเกณฑ์เมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หากมีกำไรสุทธิหลังหักภาษี กิจการสามารถจ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรให้กับผู้ถือหุ้นได้ ซึ่ง การจ่ายเงินปันผล จะต้องจ่ายจากกำไรเท่านั้น หากกิจการขาดทุนสะสมอยู่จะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ หรือหากกิจการมีกำไรมากพอสมควรก็ให้กรรมการมีมติจ่ายในระหว่างรอบปีบัญชีเป็นเงินปันผลระหว่างกาลได้

แล้วถ้าหากเกิดประเด็นในกรณีจะเลิกกิจการ บริษัทมี การจ่ายเงินปันผล อย่างไร และมีวิธีการใดบ้าง เมื่อรู้แบบนี้แล้วกิจการและผู้ถือหุ้นควรมีความเข้าใจ และวางแผนจัดการเรื่องเงินปันผลก่อนการเลิกกิจการให้ดี โดยมีรายละเอียดที่สามารถอธิบายได้ดังนี้ 

การจ่ายเงินปันผล ต้องเสียภาษีอย่างไรบ้าง

เนื่องจากเงินปันผลจ่ายจากกำไรของกิจการ ดังนั้นกำไรในส่วนนี้คือกำไรหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลของกิจการแล้ว จากนั้นก่อนที่จะมี การจ่ายเงินปันผล ให้กับผู้ถือหุ้น กิจการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น และส่งแบบยื่นเพื่อชำระภาษีภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ซึ่งอัตราภาษีที่ต้องหัก และแบบยื่นภาษีที่ต้องนำส่งอธิบายได้ดังนี้

– คนไทย (ภ.ง.ด.2) หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% 

– นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ภ.ง.ด.2) หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% 

– นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ภ.ง.ด.2) ได้รับยกเว้น ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 

– นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงชาวต่างชาติ (ภ.ง.ด.2/ภ.ง.ด.54) หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%     

ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไป ผู้ถือหุ้นขอคืนได้หรือไม่

การจ่ายเงินปันผลนั้นกิจการต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้จำนวน 10% ของเงินปันผลจ่าย ซึ่งในส่วนของผู้ที่หุ้นที่ได้รับเงินปันผลนั้น ยังต้องพิจารณาทางเลือกในการเสียภาษีบุคคลธรรมดา โดยสามารถเลือกปฏิบัติได้ 2 แบบ คือ เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และไม่ต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาของหุ้นส่วนตอนสิ้นปี  และอีกแบบนำเงินปันผลที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี และนำภาษีเงินปันผลที่ถูกหักไว้ ยื่นขอเครดิตภาษีคืนได้  

ที่สำคัญหากใช้เครดิตภาษีเงินปันผลแล้ว จะต้องนำเงินปันผลทุกรายการที่ได้รับมาคำนวณทุกรายการ ไม่สามารถเลือกเพียงบางรายการได้ 

การจ่ายเงินปันผลควรจ่ายก่อนหรือหลังเลิกกิจการ 

เมื่อตัดสินใจว่าจะจ่ายเงินปันผลก่อนเลิกกิจการดีหรือไม่ ควรลองพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ก่อน สามารถอธิบายได้ดังนี้ 

-บริษัทต้องแน่ใจว่ามีเงินสดเพียงพอที่จะจ่ายเงินปันผล โดยไม่กระทบต่อการดำเนินงาน

-บริษัทต้องพิจารณาผลกระทบทางภาษีของการจ่ายเงินปันผล

-บริษัทต้องแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลและได้อนุมัติจากผู้ถือหุ้น หากบริษัทตัดสินใจที่จะจ่ายเงินปันผลก่อนเลิกกิจการ ต้องกำหนดจำนวนเงินที่จะจ่าย บริษัทอาจเลือกที่จะจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด หุ้น หรือสินทรัพย์อื่นๆ ก็ได้  

ซึ่งจำนวนเงินที่จะจ่ายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สถานะทางการเงินของบริษัท และความคาดหวังของผู้ถือหุ้น เมื่อบริษัทได้กำหนดจำนวนเงินที่จะจ่ายแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จะจ่าย วันที่จ่ายเงินปันผล และวิธีการรับเงินปันผล ผู้ถือหุ้นต้องได้รับการแจ้งล่วงหน้าก่อนวันจ่ายเงินปันผล 

นอกจากนี้หากบริษัทมีกำไรสะสม บัญชีกำไรสะสมก็จะมีภาระภาษีที่ต้องจ่ายตามมาอีกด้วย โดยบริษัทสามารถเลือกชำระภาษีได้เป็น 2 กรณีดังนี้ 

กรณีที่ 1 เงินปันผลจะจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นก่อนที่บริษัทจะเลิกกิจการ ในการจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องหักเงินจากผู้ถือหุ้น 10% และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 

กรณีที่ 2 หากยังไม่ได้ดำเนินการจ่ายเงินปันผล แต่บริษัทได้เลิกกิจการไปแล้วนั้น กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการจ่ายเงินปันผลเพราะเป็นการจ่ายหลังเลิกกิจการแล้ว ดังนั้นกำไรสะสมที่ยังเหลืออยู่ในงบการเงิน ณ วันที่เลิกกิจการ กำไรสะสมที่เหลือจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราก้าวหน้าสำหรับผู้ถือหุ้นแต่ละราย กำไรเฉลี่ยหารด้วยสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมสรรพากร 

ดังนั้น เงินปันผลเป็นผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับจากผลการดำเนินการของกิจการเมื่อมีกำไรคงเหลือ ซึ่งก่อนจะเลิกกิจการบริษัทต้องวิเคราะห์เพื่อวางแผนเรื่องของการจ่ายเงินปันผล รวมถึงเลือกแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด หากบริษัทที่ต้องการจะเลิกกิจการสามารถให้นักบัญชีหรือสำนักงานบัญชีที่มีคุณภาพมาช่วยวิเคราะห์ว่าควรจะไปในแนวทางไหนดีเพื่อให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้รับประโยชน์สูงสุด