ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร เกี่ยวข้องกับใครบ้าง

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร เกี่ยวข้องกับใครบ้าง

ประชาชนทั่วไปมักมีความเข้าใจกันแบบผิดๆ ว่า เมื่อมีรายได้แล้วถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตอนรับเงิน  นั่นหมายความว่าได้จ่ายภาษีไปแล้วเลยไม่ไปยื่นภาษี ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะโดยปกติ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไปเป็นเพียงการจ่ายภาษีไว้ล่วงหน้าบางส่วนเท่านั้น เพื่อลดภาระทางภาษีให้กับผู้มีเงินไม่ต้องนำส่งภาษีที่ตนต้องชำระทั้งหมด มาชำระทีเดียวเมื่อสิ้นปีภาษี หรือสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

มาทำความรู้จัก…ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ การเสียภาษีรูปแบบหนึ่ง เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องหักภาษี ณ
ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายตามประเภทเงินที่จ่ายในอัตราที่กำหนดเพื่อนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วน สมาคม หรือคณะบุคคล ที่เป็นผู้จ่ายเงินได้ ซึ่งมีหน้าที่ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงิน โดยต้องกรอกเลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตนเองและของผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้ในแบบยื่นแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย

ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย  ตามที่กฎหมายได้กำหนดให้เป็น “ผู้รับเงิน” จะต้องถูกผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษี ณ ที่จ่าย ที่กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่เป็นผู้รับเงินหมายถึง บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด สมาคม 

และหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว จะต้องยื่น ภ.ง.ด.3 กับ ภ.ง.ด.53 โดยมีความแตกต่างกันคือ

  • ภ.ง.ด.53 เป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับนิติบุคคล ทั้งบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  • ภ.ง.ด.3 เป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับบุคคลธรรมดา เช่น มีการจ้างลูกจ้างรายวันหัก 3% แล้วนำส่ง
    ภ.ง.ด.3 ให้กับกรมสรรพากรในเดือนถัดไป 

โดยการเสียภาษีรูปแบบนี้ จะช่วยลดภาระค่าภาษีของผู้มีรายได้ที่ต้องจ่ายเป็นเงินจำนวนมากเมื่อถึงเวลายื่นภาษี เนื่องจากมีการจ่ายไปบ้างบางส่วนทุกๆ ครั้งที่ได้รับรายได้ รวมถึงทำให้มีเงินหมุนเวียนเข้ารัฐโดยตลอด แทนที่จะรอแต่ช่วงต้นปีที่มีการยื่นภาษีเท่านั้น และเป็นการป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีด้วยนั่นเอง

  ดังนั้น ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้รับเงินตามประเภทที่กำหนดจากผู้จ่ายนิติบุคคล จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ถึงแม้ว่าตนเองจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลแล้วก็ตาม

ค่าใช้จ่ายอะไรที่เข้าข่ายถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามประเภทเงินที่จ่าย ดังนี้

  • จ้างรับเหมาหรือบริการ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% เช่น การจ้างผลิตสินค้า จ้างทำนามบัตร จ้างรีวิว

สินค้า ทำกราฟิก รวมถึงค่าอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์           

  • ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้าเราเป็นผู้ถือกุญแจ จะนับเป็นค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบริษัทผู้เช่าจะต้องมี

การหักภาษี ณ ที่จ่าย 5%

  • จ้างบริการวิชาชีพอิสระ บริษัทผู้ว่าจ้างจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ซึ่งภาษีในกลุ่มนี้จะประกอบ

ไปด้วย 6 วิชาชีพเท่านั้น คือ 1) โรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม 2) ประณีตศิลป์ 3) สถาปนิก 4) วิศวกร 5) นักบัญชี 6) ทนายความ  

  • เงินเดือนและค่าจ้าง ถ้าเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย 
  • จ้างทำงานหรือบริการ เช่น นายหน้าขายของ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม จะใช้วิธีคำนวณเหมือนค่าจ้างและ

เงินเดือน หักภาษี ณ ที่จ่ายต่ำสุด 0%

  • ค่าโฆษณา หากต้องการทำโฆษณา โดยจ้างผ่านบริษัทรับทำโฆษณา เอเจนซี่ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 

2%

  • ค่าขนส่ง สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล และให้บริการด้านการขนส่ง จะต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่งด้วย ซึ่งจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 1%

กรณีแบบไหนที่ไม่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เมื่อกิจการจ่ายเงินเป็นค่าบริการหรือรับจ้างทำของจะต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย หากการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นการจ่ายชำระค่าซื้อสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย นอกจากนี้การจ่ายเงินได้บ้างประการก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษีด้วย เช่น ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าบริการโรงแรมและภัตตาคาร ค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ เป็นต้น  

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างการจ่ายเงินได้พึงประเมินผู้จ่ายไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 

บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายสินค้าเพียงอย่างเดียว ได้ขายสินค้าให้แก่ลูกค้า โดยส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าด้วย และเรียกเก็บค่าขนส่งเพิ่มจากค่าสินค้า ไม่ว่าจะเรียกเก็บค่าขนส่งรวมกับราคาสินค้า หรือแยกออกจากราคาสินค้า ค่าขนส่งรวมกับค่าสินค้าถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้า ผู้จ่ายเงินค่าสินค้าไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 

บริษัท ข จำกัด ขายสินค้าพร้อมให้บริการติดตั้งให้แก่ลูกค้า โดยรวมราคาสินค้าพร้อมติดตั้งไว้ด้วยกัน  ถือว่าเป็นการขายสินค้า ผู้จ่ายเงินค่าสินค้าไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 

บทสรุป จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีข้อมูลที่ค่อนข้างมาก จะต้องแยกให้ถูกประเภท มีค่าใช้จ่ายประเภทไหนบ้างที่ถูกหักและไม่ถูกหัก ต้องยื่นแบบฯ ช่วงไหนบ้าง ฯลฯ

ดังนั้น ในการประกอบกิจการที่อยู่ในรูปแบบของบริษัท นักบัญชีถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกิจการใหญ่ๆ ที่มีข้อมูลเอกสารจำนวนมาก หากไม่มีความละเอียดและแม่นยำแล้ว อาจจะก่อเกิดปัญหากับสรรพากรได้ในภายหลัง